วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ความหมาย Internet


อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อระบบต่างๆ จากทั่วมุมโลกเข้าด้วยกันไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา องค์กร หน่วยงานทั้งงานราชการและเอกชน ซึ่งมีข้อมูลมากมายที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้
อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดมหึมาที่เชื่อมโยงเอา
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อย ๆ ทั่วโลก เข้าไว้ด้วยกันเครือข่าย คือ ขื่อเรียกกลุ่มของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกัน เพื่อให้สามารถแบ่งปันข้อมูลและทรัพยากรอื่นๆ เช่นคอมพิวเตอร์สำนักงานมักเชื่อมต่อกันเพื่อให้สามารถใช้แฟ้นข้อมูลและเครื่องพิมพ์ร่วมกันกับคอมพิวเตอร์ทั้งหมดบนอินเตอร์เน็ตในอีกซีกโลกหนึ่งจะง่ายพอ ๆ กับการคุยกับคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในห้องติดกันเมื่อไรก็ตามที่คอมพิวเตอร์ของคุณต่อเข้ากับ อินเตอร์เน็ตก็เปรียบเหมือนกับตัวแมงมุมกลางใยแมงมุมขนาดมหึมาซึ่งใยแมงมุมแต่ละเส้น นำข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องนำมาสู่คอมพิวเตอร์
อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง
เครือข่ายคอมพิวเตอร์นานาชาติ ที่มีสายตรงเชื่อมต่อไปยังสถาบันหรือหน่วยงานต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ทั่วโลก. ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ทางอีเมล์ สามารถสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้. อย่างไรก็ตาม มีผู้เปรียบเทียบว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเหมือนทางหลวงระหว่างประเทศ แต่ละประเทศจะต้องมีถนนเข้ามาเชื่อมต่อเข้าไปในประเทศ กล่าวคือ จะต้องมีเครือข่ายภายในรับช่วงต่ออีกทอดหนึ่ง (เช่น เครือข่ายภายในมหาวิทยาลัย, องค์กร หรือเครือข่ายของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต) มิฉะนั้นก็จะใช้ไม่ได้ผล

ประโยชน์ Internet 

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(Electronic mail=E-mail) เป็นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผู้ส่งจะต้องส่งข้อความไปยังที่อยู่ของผู้รับ และแนบไฟล์ไปได้
เทลเน็ต(Telnet) การใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกล ๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น สามารถเรียกข้อมูลจากโรงเรียนมาทำที่บ้านได้ การโอนถ่ายข้อมูล(File Transfer Protocol ) ค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพและเสียง การสืบค้นข้อมูล (Gopher,Archie,World wide Web) การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมาย ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั่วโลกได้ การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น(Usenet) เป็นการบริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วโลก แสดงความคิดเห็นของตน โดยกลุ่มข่าวหรือนิวกรุ๊ป(Newgroup)แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน การสื่อสารด้วยข้อความ (Chat,IRC-Internet Relay chat) เป็นการพูดคุย โดยพิมพ์ข้อความตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ได้รับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง การสนทนากันผ่านอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม การซื้อขายสินค้าและบริการ(E-Commerce = Electronic Commerce) เป็นการซื้อ - สินค้าและบริการ ผ่านอินเทอร์เน็ต การให้ความบันเทิง (Entertain) บนอินเทอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงหลายรูปแบบต่างๆ เช่น รายการโทรทัศน์ เกม เพลง รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด 24 ชั่วโมง


ความเป็นมาของระบบ Internet


อินเตอร์เน็ตถูกพัฒนาโดยกระทรวงกลาโหม ของสหรัฐอเมริกาปี ค.ศ. 1969 ซึ่งหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลเครือข่ายมีชือว่า APRA (Advanced Research PojectAgency) เครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้มีชื่อว่า อาร์พาเน็ต (ARPANET) เครือข่ายนี้สร้างขึ้นเพื่อการใช้งานทางด้านการทหาร โปรโตคอลที่ใช้ชื่อว่า DARPA ต่อมา ARPA ได้สร้างมาตราฐานในการเชื่อมต่อขึ้นใหม่ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันสามารถติดต่อสื่อสาร
กันได้ จึงได้สร้างโปรโตคอลขึ้นมาใหม่ ซึ่งใช้กันมาจนถึงปัจจุบันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) และเมื่อปี ค.ศ. 1989 มีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อในเครือข่ายมากขึ้น จึงเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "อินเตอร์เน็ต"โลกวันนี้ได้มาถึงจุดเลี้ยวต่อที่วัฒนธรรมได้หักมุมจากสังคม ที่แต่เดิมมีศูนย์กลาง อยู่ที่เครือข่าย
วิทยุ ทีวีและโทรศัพท์มาสู่เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่อุดมไปด้วยข้อมูลข่าวสาร ซึ่งผลักดัน ให้สังคมก้าวสู่สังคมดิจิทัล (Digital Society) โดยทุกวันนี้ทั่วโลกมีมนุษย์ใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ประมาณ 200 ล้านคน หรือร้อยละ 3.2 ของประชากรโลกเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาแห่งเดียว มีผู้ใช้ถึง 80 ล้านคน (ประมาณร้อยละ 29 ของพลเมืองสหรัฐอเมริกา) จากข้อมูลการสำรวจผู้ใช้อินเทอร์เน็ตของชาวอเมริกัน พบว่าหนึ่งในสามของชาวอเมริกันใช้อินเทอร์เน็ตในการ จับจ่ายสินค้า ผ่านเน็ต ปรึกษาแพทย์ผ่านเน็ต ฟังการถ่ายทอดวิทยุผ่านเน็ต ลงทุนผ่านเน็ต จำนองบ้านผ่านเน็ต ติดตามการขนส่งพัสดุผ่านเน็ต รับทราบข่าวผ่านเน็ต สนทนาโทรศัพท์ผ่านเน็ต รวมทั้งทำกิจกรรมการเมืองผ่านเน็ต และแม้กระทั่งสื่อสารรักกันผ่านเน็ต

ที่มา :

ความสำคัญของอินเทอร์เน็ต
          ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีบทบาทและมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเราเป็นอย่างมาก  เพราะทำให้วิถีชีวิตเราทันสมัยและทันเหตุการณ์อยู่เสมอ  เนื่องจากอินเทอร์เน็ตจะมีการเสนอข้อมูลข่าวปัจจุบัน  และสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้ผู้ใช้ทราบเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน  สารสนเทศที่เสนอในอินเทอร์เน็ตจะมีมากมายหลายรูปแบบเพื่อสนองความสนใจและความต้องการของผู้ใช้ทุกกลุ่ม  อินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งสารสนเทศสำคัญสำหรับทุกคนเพราะสามารถค้นหาสิ่งที่ตนสนใจได้ในทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปค้นคว้าในห้องสมุด  หรือแม้แต่การรับรู้ข่าวสารทั่วโลกก็สามารถอ่านได้ในอินเทอร์เน็ตจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ของหนังสือพิมพ์
          ดังนั้นอินเทอร์เน็ตจึงมีความสำคัญกับวิถีชีวิตของคนเราในปัจจุบันเป็นอย่างมากในทุก ๆ ด้าน  ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่อยู่ในวงการธุรกิจ  การศึกษา  ต่างก็ได้รับประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตด้วยกันทั้งนั้น
          1.  ด้านการศึกษา  อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญ  ดังนี้
                    1.  สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล  ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ  ข้อมูลด้านการบันเทิง  ด้านการแพทย์  และอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
                    2.  ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
                    3.  นักเรียนนักศึกษาสามารถใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อกับมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้  ทั้งที่ข้อมูลที่เป็นข้อความเสียง  ภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ
          2.  ด้านธุรกิจและการพาณิชย์  อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญดังนี้
                    1.  ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
                    2.  สามารถซื้อขายสินค้า  ทำธุรกรรมผ่านระบบเครือข่าย
                    3.  เป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์  โฆษณาสินค้า  ติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ
                    4.  ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท    หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ  และสนับสนุนลูกค้าของตนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้  เช่น  การให้คำแนะนำ  สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า  แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware)  โปรแกรมแจกฟรี (Freeware)
          3.  ด้านการบันเทิง  อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญดังนี้
                    1.  การพักผ่อนหย่อนใจ  สันทนาการ  เช่น  การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  ที่เรียกว่า  Magazine Online  รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่น ๆ โดยมีภาพประกอบที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสารตามร้านหนังสือทั่ว ๆ ไป
                    2.  สามารถฟังวิทยุหรือดูรายการโทรทัศน์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
                    3.  สามารถดึงข้อมูล  (Download)  ภาพยนตร์มาดูได้
                                                
ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
บุญลักษณ์  เอี่ยมสำอางค์  เกื้อกมล  พฤกษประมูล และโสภิต  พิทักษ์. ภาษาไทย  หลักการใช้ภาษาและการใช้ภาษา ม.4. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=3056


 1) การรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail) 
 เป็นระบบ การสื่อสาร ทางจดหมาย ผ่านคอมพิวเตอร์ ถ้าต้องการ ส่งข้อความ ถึงใครก็ สามารถ เขียนเป็น เอกสาร แล้วจ่าหน้าซอง ที่อยู่ของผู้รับ ที่เรียกว่า แอดเดรส ระบบจะนำส่ง ให้ทันที อย่างรวดเร็ว ลักษณะ ของแอดเดรส จะเป็นชื่อ รหัสผู้ใช้ และชื่อ เครื่องประกอบ กัน เช่นsombat@nontri.ku.ac.th การติดต่อบน อินเทอร์เน็ต นี้ ระบบจะหา ตำแหน่งให้เอง โดยอัตโนมัติ และนำส่ง ไปยังปลายทาง ได้อย่างถูกต้อง การรับส่ง ไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ (email) กำลังเป็นที่ นิยมกัน อย่างแพร่หลาย
2) การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน
 เป็นระบบ ที่ทำให้ผู้ใช้ สามารถรับส่ง แฟ้มข้อมูล ระหว่างกัน หรือมีสถานี ให้บริการ เก็บแฟ้มข้อมูล ที่อยู่ในที่ต่างๆ และให้บริการ ผู้ใช้สามารถ เข้าไปคัดเลือก นำแฟ้มข้อมูล มาใช้ประโยชน์ได้
 
3) การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในที่ห่างไกล
 การเชื่อมโยง คอมพิวเตอร์ เข้ากับเครือข่าย ทำให้เรา สามารถเรียก เข้าหาเครื่อง คอมพิวเตอร์ ที่เป็น สถานีบริการ ในที่ห่างไกล ได้ ถ้าสถานี บริการนั้น ยินยอม ให้เราใช้ ผู้ใช้สามารถ นำข้อมูล ไปประมวลผล ยังเครื่อง คอมพิวเตอร์ ที่อยู่ในเครือข่าย โดยไม่ต้อง เดินทางไปเอง
4) การเรียกค้นข้อมูลข่าวสาร
 ปัจจุบัน มีฐานข้อมูล ข่าวสาร ที่เก็บ ไว้ให้ใช้งาน จำนวนมาก ฐานข้อมูล บาง แห่งเก็บ ข้อมูล ในรูปสิ่งพิมพ์ อิเล็กทรอนิกส์ ที่ผู้ใช้ สามารถเรียกอ่าน หรือนำมา พิมพ์ ลักษณะ การเรียกค้นนี้ จึงมีลักษณะ เหมือน เป็นห้องสมุด ขนาดใหญ่ อยู่ภายใน เครือข่าย ที่สามารถ ค้นหาข้อมูล ใดๆ ก็ได้ ฐานข้อมูล ในลักษณะ นี้เรียกว่า เครือข่าย ใยแมงมุม ครอบคลุม ทั่วโลก (World Wide Web : WWW) ซึ่งเป็น ฐานข้อมูล ที่เชื่อมโยง กันทั่วโลก
5) การอ่านจากกลุ่มข่าว
 ภายใน อินเทอร์เน็ต มีกลุ่มข่าว เป็นกลุ่มๆ แยกตาม ความสนใจ แต่ละกลุ่มข่าว อนุญาต ให้ผู้ใช้ อินเทอร์เน็ตส่ง ข้อความ ลงไปได้ และหากมีผู้ ต้องการ เขียนโต้ตอบ ก็สามารถเขียน ตอบได้ กลุ่มข่าวนี้ จึงแพร่หลาย กระจายข่าว ได้รวดเร็ว
6) การสนทนาบนเครือข่าย 

 เมื่อ เครือข่าย อินเทอร์เน็ต เชื่อมต่อ ถึงกันได้ ทั่วโลก ผู้ใช้จะสามารถ ใช้เครือข่าย อินเทอร์เน็ต เป็นตัวกลาง ในการติดต่อ สนทนากันได้ ในยุคแรก ใช้วิธีการ สนทนา กันด้วย ตัวหนังสือ เพื่อโต้ตอบกัน แบบทันที ทันใด บนจอภาพ ต่อมา มีผู้พัฒนา ให้ใช้เสียงได้ จนถึงปัจจุบัน ถ้าระบบสื่อสาร ข้อมูลมี ความเร็วพอ ก็สามารถ สนทนา โดยที่เห็นหน้ากัน และกัน บนจอภาพได้
 7) การบริการสถานีวิทยุและโทรทัศน์บนเครือข่าย
 เป็นการประยุกต์ เพื่อให้เห็นว่า เป็นสิ่งที่ เกิดขึ้นได้ ปัจจุบัน มีผู้ตั้ง สถานีวิทยุ บนเครือข่าย อินเทอร์เน็ต หลายร้อยสถานี ผู้ใช้สามารถ เลือกสถานีที่ ต้องการ และได้ยินเสียง เหมือนการ เปิดฟังวิทยุ ขณะเดียวกัน ก็มีการ ส่งกระจายภาพ วิดีโอ บนเครือข่ายด้วย แต่ปัญหายังอยู่ ที่ความเร็ว ของเครือข่าย ที่ยังไม่สามารถ รองรับการ ส่งข้อมูล จำนวนมาก ทำให้คุณภาพ ของภาพวีดิโอ ยังไม่เห็นดี เท่าที่ควร





ที่มา :  
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/prajuab/tanyalak_k/7/c7_5_1_1_0.htm#
ประวัติความเป็นมาของระบบอินเทอร์เน็ต





พ.ศ. 2510

เป็นจุดเริ่มต้นของอินเตอร์เน็ต เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเริ่มก่อตั้งเครือข่ายที่เรียกว่า ?อาร์ปาเน็ต (ARPANET หรือ Advanced Research Project Agency) เป็นเหตุผลทางทหารในยุคสงครามเย็น ซึ่งสหรัฐกลัวว่ารัสเซียอาจยิงขีปนาวุธนิวเคลียร์ เข้ามาถล่มจุดยุทธศาสตร์บางจุด ซึ่งอาจทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันอยู่เป็นอัมพาต จึงได้ริเริ่มงานวิจัยเครือข่ายใหม่ซึ่งเป็น เครือข่ายแบบกระจายศูนย์ที่จะได้รับความเสียหายน้อยที่สุดจากสงครามนิวเคลียร์

พ.ศ. 2512
โครงการอาร์ปาเน็ต (ARPANET) ได้เริ่มงานวิจัยในเดือนมกราคมในรูปแบบที่ไม่ได้ต่อเชื่อมโฮสต์ (Host) โดยตรง แต่ใช้คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า IMP (Interface Message Processors) ที่เชื่อมถึงกันด้วยสายโทรศัพท์เพื่อทำหน้าที่ด้านการสื่อสารโดยเฉพาะแต่ละ IMP สามารถเชื่อมต่อได้หลายโฮสต์ และในเดือนกันยายน พ.ศ. 2512 ได้มีการทดลองเชื่อมโยง IMP ระหว่างมหาวิทยาลัย 4 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ในลอสแองเจลิส สถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในซานตาบาบารา และมหาวิทยาลัยยูทาห์ โดยแต่ละมหาวิทยาลัยจะมีโฮสต์ต่างชนิดกัน และใช้ระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่เรียกว่า ?แพ็กเก็ตสวิตชิง? (packet Switching)




พ.ศ. 2515
เครือข่าย ARPANET ได้ขยายไปสู่สถาบันต่าง ๆ ถึงกว่า 50 แห่ง เพื่อใช้ในการค้นคว้าและวิจัยทางการทหารเป็นส่วนใหญ่ โดยคอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ากับเครือข่ายนี้จะมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลที่เรียกว่า Network Control Protocol (NCP) ซึ่งมีข้อจำกัดในด้านจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ากับ ARPANET ทำให้ไม่สามารถขยายจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบได้

พ.ศ. 2525
ได้มีการพัฒนามาตรฐานการเชื่อมต่อข้อมูลใหม่ ที่เรียกว่า TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) ซึ่งเป็นโพรโตคอลที่ ARPANET ได้วางรากฐานให้กับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จึงทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันสามารถรับส่งข้อมูลไปมาระหว่างกันได้ และถือเป็นมาตรฐานที่เป็นหัวใจของอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน

พ.ศ. 2527
มีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อในระบบอินเตอร์เน็ตเข้าด้วยกันถึง 1,000 เครื่อง โดยขยายการเชื่อมต่อเข้าไปสู่มหาวิทยาลัยและองค์กรเอกชนด้วย

พ.ศ. 2529
มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation: NSF) ได้นำเทคโนโลยีการสื่อสารแบบใหม่ของ ARPANET มาใช้เพื่อเชื่อมหน่วยงานในภูมิภาคต่าง ๆ เข้ากับศูนย์ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ โดยมีการแบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน จึงเป็นที่มาของ ?เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์? หรือ CSnet

พ.ศ. 2532
มีเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่เชื่อมต่อในระบบอินเตอร์เน็ตมากถึง 10,000 เครื่อง จึงได้มีการขนานนามใหม่ว่า ?อินเตอร์เน็ต (Internet)?
ที่มา  :   http://202.28.94.55/web/322161/2551/001/g30/page3.html



องค์ประกอบของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
     ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึง การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปผ่านสื่อที่เป็นตัวกลางรับ-ส่งข้อมูลเช่น สายเคเบิล หรือ ดาวเทียม เป็นต้น โดยวัตถุประสงค์ของการเชื่อมโยงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น การติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน การใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ร่วมกัน การใช้ข้อมูลต่าง ๆ ร่วมกัน เป็นต้น
     ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป โดยแบ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญ คือ
คอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2 เครื่อง


     เน็ตเวิร์คการ์ด หรือ NIC (Network Interface Card) เป็นการ์ดเสียบเข้ากับช่องสล๊อตบนเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และเครือข่าย


     สื่อกลางและอุปกรณ์สำหรับการรับส่งข้อมูล เช่น สายสัญญาณ ปัจจุบันที่นิยมใช้ได้แก่ สายโคแอ๊กเชียล สายคู่เกลียวบิด และสายใยแก้วนำแสง ส่วนอุปกรณ์เครือข่ายได้แก่ สวิตช์ เกตเวย์ ฮับ เราท์เตอร์


     โปรโตคอล (Protocol) โปรโตคอลเป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์ใช้สื่อสารกันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่สามารถสื่อสารกันได้จำเป็นต้องมีภาษาสื่อกลางที่ทำให้เข้าใจกัน คือ โปรโตคอลเดียวกัน เช่น TCP/IP, IPX/SPX


     ระบบปฏิบัติการเครือข่าย หรือ NOS (Network Operating System) ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่คอยจัดการเกี่ยวกับการใช้งานเครือข่ายของผู้ใช้แต่ละคน ควบคุมทรัพยากรต่าง ๆ ของเครือข่าย ระบบปฏิบัติการที่นิยม ได้แก่ Windows Server 2003, Novell NetWare, Sun Solaris, Linux









การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเข้าเชื่อมกับระบบอินเทอร์เน็ต สามารถกระทำได้ 2 ลักษณะ คือ
  1. การเชื่อมต่อโดยตรง การเชื่อมต่อแบบนี้จะเป็นการนำระบบของเราเข้าเชื่อมต่อโดยตรงกับสายหลัก (Backbone) ของอินเทอร์เน็ต โดยผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า เกตเวย์ (Gateway) หรือ เร้าเตอร์ (Router) ร่วมกับสายสัญญาณความเร็วสูง โดยเราจะต้องติดต่อโดยตรงกับ InterNIC ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการรับสมัครเป็นสมาชิกของชุมชนอินเทอร์เน็ต เพื่อขอชื่อโดเมนและติดตั้งเกตเวย์เข้ากับสายหลัก การเชื่อมต่อแบบนี้จะสามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา จึงเหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นในระบบ 24 ชั่วโมง แต่อย่างไรก็ดี ค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อลักษณะนี้จะมีราคาแพงมากทั้งทางด้านอุปกรณ์และการบำรุงรักษา
  2. การเชื่อมต่อผ่านทางผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการการเชื่อมต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ไอเอสพี (ISP) จะเป็นองค์กรๆ หนึ่งที่ทำการติดตั้งและดูแลเครื่องสำหรับให้บริการ (Server) ที่ต่อตรงเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งอนุญาตให้ผู้สมัครเป็นสมาชิกขององค์กรนำระบบของตนเข้ามาเชื่อมต่อได้ ISP จึงเปรียบเสมือนช่องทางผ่านเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งหลังจากที่เราเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้แล้ว เราก็สามารถจะเชื่อมต่อไปยังที่ใดก็ได้ในระบบในการเชื่อมต่อผ่านทาง ISP นี้ยังแบ่งลักษณะการเชื่อมต่อออกเป็น 2 ประเภท ตามความต้องการใช้งานของสมาชิก ดังนี้
    • การเชื่อมต่อแบบองค์กร (Coorporate User Services) เป็นองค์กรที่มีการจัดตั้งระบบเครือข่ายใช้งานภายในองค์กรอยู่แล้ว จะสามารถนำเครื่องแม่ข่าย (Server) ของเครือข่ายนั้นๆ เข้าเชื่อมกับ ISP เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้
    • การเชื่อมโยงส่วนบุคคล (Individual User Services) บุคคลธรรมดาทั่วไปสามารถขอเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน์ตได้ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่เชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์ ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่าโมเด็ม (Modem) ซึ่งค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก โดยติดต่อขอใช้บริการผ่านการสมัครเป็นสมาชิกของ ISP ซึ่งอาจจะเป็นสมาชิกรายชั่วโมง รายเดือน หรือเป็นลักษณะสมาชิกสำเร็จรูป แล้วแต่ทาง ISP นั้นๆ จะให้บริการ โดยทาง ISP จะให้ชื่อบัญชี (Internet Account Name) และรหัสผ่าน (Password) สำหรับสมาชิกแต่ละคนสำหรับใช้ในการเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต